วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551

Digital Library

ห้องสมุดดิจิตอล จับโลกของหนอนหนังสือออนไลน์
อริสโตเติล บรรณารักษ์รุ่นแรกของโลกอาจจะต้องตกใจหากเจาะเวลามาสมัยนี้ได้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศในโลกยุคใหม่ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตหรือโทรศัพท์มือถือ ก็เปิดโลกของห้องสมุคยุคใหม่แบบที่เขาอาจจะนึกไม่ถึงมาก่อน...อริสโตเติลน่าจะเป็นหนึ่งในบรรณารักษ์รุ่นแรกๆ ของโลก นักปรัชญาโบราณท่านนี้มีชื่อเสียงในการเก็บรวบรวม "หนังสือ" ส่วนตัวเองไว้เป็นจำนวนมาก โดยที่หนังสือในยุคนั้นเป็นข้อความที่เขียนเอาไว้ในกระดาษที่ทำจากต้นปาไพรัสและหนังสัตว์ ชาวกรีกเป็นผู้สร้างห้องสมุดสาธารณะแห่งแรกของโลกขึ้นมาในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล จากนั้นกษัตริย์แห่งอียิปต์ก็เรียกตัวอริสโตเติลมาช่วยจัดระเบียบหนังสือที่พระองค์รวบรวมเอาไว้ รวมทั้งหนังสือที่อยู่ในหอสมุดแห่งอเล็กซานเดรียอีกด้วยถ้าหากอริสโตเตเลือกใช้ยานข้ามกาลเวลาเดินทางมายังห้องสมุดยุคใหม่ เขาคงรู้สึกประหลาดใจอย่างมาก สิ่งที่ทำให้เขาประหลาดใจคงไม่ใช่แค่หนังสือที่ทำจากกระดาษและแผ่นดีวีดีเท่านั้น แต่ห้องสมุดสมัยใหม่ในปัจจุบันยังใช้เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายที่อริสโตเติลไม่เคยจินตนาการมาก่อนอีกด้วย ห้องสมุดตั้งแต่สิงคโปร์จนถึงซีแอตเติลล้วนแล้วแต่มีระบบยืมหนังสือด้วยตนเอง ฮอตสปอตไร้สายและเทคโนโลยี radio frequency identification (RFID) ที่เอาไว้คอยติดตามหนังสือนับล้านๆ เล่มอีกด้วยถ้าหากพูดถึงเทคโนโลยีแล้ว เทคโนโลยีชนิดแรกที่ห้องสมุดส่วนใหญ่มีให้บริการก็คือบริการไร้สายอย่าง "ฮอตสปอต" ติดตั้งอยู่ทั่วทั้งห้องสมุดทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเอาโน้ตบุ๊คเข้ามาใช้หาข้อมูลต่างๆ คู่กับหนังสือที่มีอยู่ในห้องสมุด แต่ใช่ว่าจะมีเฉพาะห้องสมุดไฮเทคในต่างประเทศเท่านั้น ที่เมืองไทยเราก็มีห้องสมุดที่ไฮเทคไม่น้อยหน้าเขาเหมือนกันและที่สำคัญคือมีมานานแล้วด้วย แต่ในโลกนี้ก็มีเทคโนโลยีมากมายที่จะทำให้ห้องสมุดที่เราอาจจะคุ้นตากัลกองบัตรชื่อหนังสื่อเก่าๆ หรือตู้หนังสือที่หายากจะเปลี่ยนไป กลายเป็นห้องสมุดที่เต็มไปด้วยความรู้ไม่เฉพาะที่เป็นหนังสือเหมือนแต่ก่อนWi-Fi, RFID สองเทคโนโลยีเพื่อห้องสมุดดิจิตอลการที่จะก้าวเข้าสู่ยุคของห้องสมุดดิจิตอลนั้นไม่ใช่แค่เรื่องของการเอาคอมพิวเตอร์มาตั้งเพื่อให้บริการค้นหาหนังสือเพียงเท่านั้นแล้วจบ นั่นเป็นเพียงขั้นแรกของการก้าวสู่การเป็นห้องสมุดดิจิตอลยังมีเทคโนโลยีอีกมากมายที่จะทำให้ห้องสมุดกลายเป็นระบบที่เรียกว่า eLibrary อย่างสมบูรณ์eLibrary ที่สมบูรณ์แบบนั้นน่าจะหมายถึงขั้นตอนการให้บริการแก่นักอ่านด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสืบค้นหนังสือด้วยเครื่องมืออย่างคอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งการให้บริการหนังสือหรือสื่อแบบอื่นๆ ที่เป็นอิเล็คทรอนิคส์ได้ และยังมีมุมกลับต่อมาก็คือการเปลี่ยนระบบก็ต้องส่งเสริมการทำงานของบรรณารักษ์ให้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น ลดเวลาที่บรรณารักษ์ใช้ไปกับการติดต่อกับผู้ใช้บริการแล้วเอาเวลาช่วงดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาบริการหรือคอนเทนต์ให้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นTom Gates รองประธานฝ่ายการตลาดของบริษัทซอฟต์แวร์ Sirsi ที่เคยพัฒนาระบบให้ห้องสมุดทั่วโลกมาแล้วกล่าวว่า "ในปัจจุบันเว็บก็คือปัจจัยหลักที่ช่วยให้ผู้คนค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดและสื่ออ้างอิงต่างๆ พวกเขาใช้อุปกรณ์อย่างพีดีเอและโน้ตบุ๊คเพื่อเรียกใช้บริการเหล่านี้ ดังนั้นเทคโนโลยีใดที่ติดต่อสื่อสารออนไลน์ได้ ก็สามารถติดต่อสื่อสารแบบไร้สายได้เช่นกัน สิ่งที่เหมือนกับโรงแรม ร้านค้า และสนามบินที่มีบริการฮอตสปอตก็คือ ห้องสมุดต่างก็ต้องการใช้เทคโนโลยีชนิดนี้ด้วยเช่นกัน ภารกิจหลักของพวกเขาก็คือการสร้างชุมชนที่ดึงผู้คนให้เข้ามา พวกเขาทำตัวเหมือนธุรกิจทั่วไปก็คือ ต้องการให้ลูกค้ามาหาพวกเขานั่นเอง"ในปัจจุบัน Sirsi กำลังทำงานร่วมกับผู้ค้าอย่าง Cisco และบริษัทอื่นๆออกแบบฮอตสปอตไร้สายสำหรับห้องสมุดอยู่ถ้าหากดูจากการทำงานหลังฉากแล้ว เทคโนโลยีไร้สายยังช่วยให้เหล่าบรรณารักษ์ทำงานในสภาพที่แตกต่างจากเดิมอย่างมากอีกด้วย ตัวอย่างเช่นในงานนิทรรศการแห่งหนึ่งบริษัท Sirsi ได้ทำการสาธิตอุปกรณ์พีดีเอชนิดใหม่ซึ่งมีชื่อว่า PocketCirc ที่ช่วยให้พนักงานของห้องสมุดต่างๆ ตรวจเช็คจำนวนหนังสือแบบไร้สายได้ในทันที ส่วนห้องสมุดอื่นๆ ต้องการให้ผู้เข้ามาใช้บริการเป็นผู้ควบคุมเทคโนโลยีด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่นห้องสมุดหลักของมหาวิทยาลัย Oulu ในฟินแลนด์ มีโครงการ Smart Library ที่ยอมให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการค้นหาหนังสือโดยใช้พีดีเอของตนเองได้ โดยเมื่อผู้ใช้เชื่อมต่อพีดีเอกับระบบเครือข่าย Wi-Fi ของห้องสมุดแล้ว ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่ต้องการ หรือเช็คว่ามีห้องที่ใช้ศึกษาร่วมกันว่างหรือไม่เป็นต้น ผู้ใช้เพียงแค่พิมพ์รายชื่อหนังสือเป็นตัวแปรที่ใช้ในการค้นหา จากนั้นเขาก็จะได้รับรหัสตำแหน่งของหนังสือเล่มนั้นกลับมา ถ้าหากเขาไม่รู้ว่าตำแหน่งดังกล่าวอยู่ตรงไหน เขาก็ขอให้ระบบ SmartLibrary ช่วยเหลือเขาเพิ่มเติมได้ด้วย ระบบจะทำการค้นหาว่าเขายืนอยู่ที่ไหน หนังสืออยู่ตรงไหน และบอกเส้นทางที่สั้นที่สุดเพื่อเดินไปยังตำแหน่งที่เขาต้องการได้ เรื่องนี้ถือเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างมากสำหรับห้องสมุดแห่งนี้ซึ่งมีชั้นวางหนังสือยาวถึง 25 กิโลเมตร ข้ามกลับมาที่เมืองไทย แม้ว่าทุกวันนี้ห้องสมุดที่อยู่ตามสถาบันการศึกษานั้นจะนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงานบรรณารักษ์นานแล้ว แต่เชื่อเถอะว่ามีมหาวิทยาลัยในบ้านเราจำนวนน้อยที่ระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงบริการไร้สายต่างๆ จะมีบทบาทต่อการให้บริการผู้ใช้ห้องสมุด ห้องสมุดกลางของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งความรู้อีกที่หนึ่ง ที่นักศึกษาและคนทั่วไปมักจะใช้เป็นแหล่งเสาะหาความรู้ต่างๆ และหากไม่บอกหลายคนคงไม่เคยรู้ว่า ณ ที่หอสมุดกลางและห้องสมุดต่างๆ ของจุฬาฯ นั้นเริ่มทำการเปลี่ยนเป็นห้องสมุดดิจิตอลมานานแล้ว(ซึ่งจะเล่าถึงความเป็นมาด้านล่าง) ถ้าจะถามว่าในเมืองไทยนั้นห้องสมุดที่ไหนที่เปิดให้บริการสืบค้นหนังสือผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรืออุปกรณ์มือถือ ก็จะมีระบบของสถาบันวิทยบริการของจุฬาฯ นี่เอง ที่บริเวณโดยรอบของทั้งหอสมุดกลางและบริเวณหลายจุดในมหาวิทยาลัย นักศึกษาสามารถค้นหาไม่เพียงเฉพาะชื่อหนังสือเท่านั้นแต่ยังสามารถค้นหาลงไปถึงตัวเนื้อหาอยู่อยู่ข้างใน หรือที่เรียกว่าเป็น Full Text Search ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของการค้นหาหนังสือที่ต้องการทำได้มากกว่ากการค้นหาธรรมดาแม้ว่าห้องสมุดหลายแห่งยังกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการติดตั้งเทคโนโลยีไร้สายอยู่ก็ตาม แต่ห้องสมุดที่ติดตั้งเทคโนโลยีนี้ไปแล้วต่างบอกว่า ระบบใหม่ช่วยให้พวกเขาประหยัดเงินได้อย่างมาก ตัวอย่างเช่น ห้องสมุดแห่งชาติที่สิงคโปร์มีการติดตั้งเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายเอาไว้หลายจุดแล้วรวมทั้งห้องสมุดสาธารณะทุกแห่งในสิงคโปร์สิงคโปร์จะกลายเป็นสังคมที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินสดอีกต่อไป ประชาชนทุกคน (แม้แต่นักเรียนวัย 7 ขวบ) จะพกบัตรประชากรที่มีเดบิตการ์ดในตัวที่ชื่อ ez-link ติดตัวเอาไว้ตลอดเวลา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของห้องสมุดจะตรวจสอบให้บัตรประชาชนแบบใหม่สามารถใช้เป็นบัตรสมาชิกของห้องสมุดได้ด้วยระบบ RFID ของห้องสมุดจะใช้อ่านการ์ด ez-link ได้ ซึ่งจะทำให้การจ่ายค่าปรับหนังสือที่ส่งคืนกำหนดทำได้ง่ายขึ้นนอกจากนั้นห้องสมุดในสิงคโปร์ยังทดลองติดตั้ง "บรรณาธิการไซเบอร์" ในห้องสมุดสองแห่งอีกด้วย ห้องสมุดดังกล่าวไม่มีบรรณารักษ์ซึ่งเป็นคนจริงๆ แต่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการสามารถติดต่อกับตู้บริการซึ่งมีโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ติดตั้งเอาไว้ ถ้าหากพวกเขาต้องการความช่วยเหลือพวกเขาสามารถยกหูโทรศัพท์เพื่อติดต่อกับบรรณารักษ์ที่เป็นคนจริงๆ ซึ่งอยู่สถานที่อีกแห่งหนึ่งได้ ถ้าหากผู้มาใช้บริการมีปัญหากับการค้นหาดาตาเบสในคอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์ซึ่งอยู่อีกที่หนึ่งสามารถเข้ามาควบคุมเคอร์เซอร์ของคอมพิวเตอร์ แล้วแสดงให้ผู้ใช้บริการเห็นว่าจะค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างไรบางทีแอพพลิเคชันไร้สายที่มีความสำคัญมากที่สุดที่นำมาใช้ในห้องสมุดก็คือ ป้าย RFID ที่ติดอยู่ตามหนังสือต่างๆนั่นเอง ซึ่งวิธีการค้นหาหนังสือแบบนี้กำลังได้รับความนิยมในห้องสมุดทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ ก่อนหน้าที่จะมีการติดตั้งระบบ RFID ให้กับหนังสือที่อยู่ในห้องสมุดของสิงคโปร์ คุณอาจจะต้องเสียเวลากับหนังสือเล่นเดียวเป็นชั่วโมง บรรณารักษ์ต้องทำงานตลอดในการประทับตรายืมคืนหนังสือทำให้ผู้ใช้บริการที่ต้องการสอบถามหนังสือเพื่อการวิจัยไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเพียงพอย้อนกลับมาที่เมืองไทยอีกครั้ง แม้ว่าตอนนี้หอสมุดกลางของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังไม่ได้เลือกที่จะใช้เทคโนโลยี RFID กับหนังสือที่มีอยู่ แต่ทางสถาบันวิทยบริการยังมีระบบการยืม-คืนอัตโนมัติให้บริการอยู่เหมือนกัน เพียงแต่ระบบการยืมหนังสือนั้นเหมือนเป็นการจองหนังสือผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต จะมีระบบแจ้งเตือนเมื่อการจองหนังสือที่ผู้ใช้ต้องการมาถึง และสำหรับระบบการคืนหนังสือนั้นนักศึกษาหรือผู้ยืมสามารถนำไปคืน ณ ห้องสมุดที่ไหนก็ได้ของมหาวิทยาลัย โดยจะมีตู้รับและระบบคอมพิวเตอร์เพื่อผู้สามารถทำการคืนได้ด้วยตัวเองถ้าหากมองไปในอนาคตแล้ว เหล่าบรรณารักษ์มองว่าเทคโนโลยีระบบสื่อสารยังมีศักยภาพที่จะนำไปใช้งานแบบอื่นๆได้อีก ซึ่งจะส่งผลทำให้มีข้อมูลมาให้บริการได้มากขึ้นตามไปด้วย บรรณารักษ์ไม่ว่าทั้งไทย สิงคโปร์ หรือฝรั่งต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "ความฝันของบรรณารักษ์ทุกคนก็คือการเชื่อมโยงห้องสมุดทุกแห่งในโลกเข้าด้วยกัน และถ้าหากดูจากเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว ความฝันดังกล่าวกำลังใกล้ที่จะเป็นจริงแล้ว"หอสมุดกลาง จุฬาฯ ต้นแบบห้องสมุดดิจิตอลไทยจะเห็นว่าในต่างประเทศเรื่องของการพัฒนาห้องสมุดไปสู่ยุคดิจิตอลนั้นไปไกลมากแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีไร้สายหรือการนำเอาระบบ RFID สำหรับการจัดการหนังสือที่แต่ละห้องสมุดมีอยู่มากมาย แต่เราก็จะเห็นว่าสำหรับในเมืองไทยแล้วความก้าวหน้าในเรื่องของห้องสมุดดิจิตอลก็ไม่ได้ล้าหลัง เพียงแต่ว่าการพัฒนาจะหาได้ก็แต่ในมหาวิทยาลัยที่มีกำลังทุนทรัพย์ แต่ใช่ว่าจะไม่มีโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดของประเทศให้ทันสมัยเหมือนอย่างที่เพื่อนบ้านของเราอย่างสิงคโปร์มี ทำให้ต้องไปดูระบบห้องสมุดดิจิตอลของหอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยความเป็นมาของระบบห้องสมุดดิจิตอลของหอสมุด จุฬาฯ นั้น ย้อนกลับไปเมื่อ 12 ปีที่แล้วยุคก่อนที่อินเทอร์เน็ตในเมืองไทยจะมีการใช้งานเชิงพาณิชย์ ด้วยทุนวิจัยจากต่างประเทศและนักวิชาการสองท่านของจุฬาฯ ทำให้หอสมุดกลางนั้นเลือกที่จะเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปี 2535 ทำให้ที่นี่คือประตูสู่อินเทอร์เน็ตที่แรกของประเทศไทยในเวลานั้น หลังจากนั้นอีก 2 ปีเครือข่าย Chulalinet ก็เกิดขึ้นโดยที่เครือข่ายนี้เป็นการเชื่อมโยงห้องสมุดของทุกคณะวิชาและสถาบันต่างๆ ที่มีอยู่ของจุฬาฯ เพื่อที่จะทำให้นิสิตและเจ้าหน้าที่สามารถค้นหาและยืมหนังสือจากทุกห้องสมุดที่มีอยู่ในเครือข่ายถ้าจะถามถึงขนาดของ Chulalinet นั้นก็ต้องบอกว่าใหญ่ใช้ได้เลยทีเดียว เพราะอย่างที่บอกว่ารวมเอาห้องสมุดของทุกคณะและสถาบันของจุฬาฯ เอาไว้ ซึ่งตอนนี้ก็มีอยู่ 37 แห่งกระจายอยู่ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด มีทรัพยากรอยู่ทั้งหมด 586,085 ชื่อเรื่องนับเป็นจำนวนได้ 1,048,061 รายการ แต่ว่าทั้งหมดไม่ได้อยุ่ที่หอสมุดกลางเพียงอย่างเดียว ปัญหาอยู่ที่ว่าจะจัดการอย่างไรกับปริมาณหนังสือที่มีมากมายขนาดนี้และยังอยู่กันคนละที่อีก การที่นิสิตหรือสมาชิกต้องการหนังสือเล่นหนึ่งที่อยู่ในห้องสมุดต่างคณะหรือแม้กระทั่งต่างวิทยาเขตบางแห่งโมเดลของ Chulalinet นั้นขยายขายไอเดียออกไปหน่วยงานการศึกษาหลายแห่ง และในปัจจุบันนี้ก็ได้มีสถาบันการศึกษาทั้งที่เป็นมหาวิทยาลัยและราชภัฏทั้งหลายนำเอาต้นแบบนี้ไปใช้ และกระทรวงศึกษาธิการกำลังจะสร้างเครือข่ายสำหรับการเชื่อมต่อห้องสมุดของสถานศึกษาทั้งประเทศเข้าด้วยกัน ทำให้ต่อไปผู้ใช้บริการห้องสมุดสามารถตรวจสอบว่าหนังสือที่ต้องการอยู่ที่แห่งหนตำบลใดในประเทศไทยระบบของ Chulalinet นั้นจะช่วยให้นิสิตและสมาขิกสามารถค้นหาหนังสือข้ามห้องสมุดได้ และไม่ใช่แค่นั้นคือแต่ก่อนการจะยืมหรือคืนหนังสือต่างห้องสมุดของจุฬาฯ ผู้ยืมหรือคืนต้องเดินทางไปยังห้องสมุดนั้นๆ แต่สำหรับนิสิตและสมาชิกของ Chulalinet นั้นสามารถยืมและคืนหนังสือจากห้องสมุดคณะของตัวเองได้ ทำให้ต่อไปนี้นิสิตที่ต้องการหนังสือต่างคณะก็ไม่ต้องเดินทางไปที่คณะหรือวิทยาเขตอื่นแต่อาจจะต้องรอเข้าคิวกันซักหน่อย เพราะธรรมดาตามห้องสมุดมหาวิทยาลัยหนังสือหายากหรือที่มีน้อยก็ต้องเข้าคิวกันอยู่แล้วแต่เชื่อไหมว่าเวลานี้ที่สถาบันการศึกษาในเมืองไทยกำลังคิดที่จะเอาฐานข้อมูลห้องสมุดของแต่ล่ะที่เชื่อมเข้าหากันโดยมีกระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าภาพ หน่วยงานอย่างหอสมุดแห่งชาติกลับยังไม่มีความเคลื่อนไหวอย่างใด ซึ่งความจริงหอสมุดแห่งชาติน่าจะเป็นตัวตั้งตัวตีในเรื่องนี้ก็ได้แค่ถามไว้ให้คิดเท่านั้นเองDigital Library แหล่งที่มากกว่าหนังสือคุณรู้สึกเหมือนอย่างพวกเราไหมว่าเดี๋ยวนี้ถ้าจะพูดถึงแหล่งความรู้ที่จะสรรหามาใส่สมองได้ หนังสือไม่ใช่สื่อเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่จะมี อินเทอร์เน็ตทุกวันนี้กลายเป็นห้องสมุดเสมือนที่นับวันจะใหญ่ขึ้นทุกวัน ทำให้คนเดี๋ยวนี้เริ่มจะเห็นความสำคัญของห้องสมุดน้อยลงไปทุกทีกลุ่มคนที่ใช้อยู่เป็นประจำก็เห็นจะเป็นคนที่กำลังเรียนอยู่ ตั้งแต่เริ่มอ่านมาคุณๆ อาจจะรู้สึกว่าเราพยายามนำเสอถึงเทคโนโลยีว่าเดี๋ยวนี้ห้องสมุดแต่ละมุมโลกใช้เทคโนโลยีอะไรบ้างในการบริการ แต่ยังไม่เห็นบอกเลยว่าในโลกของห้องสมุดยุคดิจิตอลนั้นมีอะไรให้บริการที่มากไปกว่าหนังสือที่จับต้องได้คุณๆ อาจจะเคยได้อ่านหนังสือที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอลหรือ e-book กันไปบ้างแล้ว ซึ่งก็มีอยู่หลายแบบให้เลือกอ่านกันทั้งบนคอมพิวเตอร์เรื่อยไปจนบนโทรศัพท์มือถือ เหมือนกันห้องสมุดแบบดิจิตอลนั้นก็หนีเรื่องนี้ไปได้ ซึ่งหากจะถามว่าหนังสือประเภทไหนที่ควรจะเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของหนังสือแบบดิจิตอลนั้น ไม่ต้องไปถามใครที่ไหนคุณก็ตอบโดยไม่ต้องไปคิดเลยว่าหนังสือหายากต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของประเทศหรือของโลก หนังสือเหล่านี้คงไม่มีใครเอามาให้บริการยืมไปอ่านตามบ้านหรือแม้แต่หยิบออกมาจากตู้เขายังไม่ทำกันเลยในบ้านเรานั้น หอสมุดกลางของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น นอกจากจะพัฒนาระบบการให้บริการแบบห้องสมุดดิจิตอลที่อื่นๆ ของโลกแล้ว ในเรื่องของคอนเทนต์หรือตัวหนังสือที่ให้บริการนั้นก็มีการให้บริการในรูแบบของหนังสือดิจิตอลเหมือนกัน คอนเทนต์ที่ง่ายที่สุดที่จะเอามาทำเป็นหนังสือดิจิตอลนั้นคือสิ่งที่ทำขึ้นเองจากบุคคลากรของมหาวิทยาลัย ในตอนนี้ Digital Library ของหอสมุดกลาง จุฬาฯ นั้นได้ทำการนำเอาเอกสารวิจัยของคณะและหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งวิทยานิพนธ์ของนิสิตในระดับการศึกษาต่างๆ แปลงเป็นไฟล์ดิจิตอล เก็บไว้เป็นฐานข้อมูลสำหรับให้นิสิตและผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นผ่านทางเว็บไซต์ได้ โดยที่ระบบสืบค้นนั้นทำการค้นหาได้ถึงในเนื้อหาของคอนเทนต์เรียกว่าเป็นระบบ Full Text Search คอนเทนต์อีกกลุ่มหนึ่งที่ หอสมุดกลาง จุฬาฯ นั้นได้ทำการแปลงเป็นหนังสือดิจิตอลก็คือหนังสือหายากต่างๆ ยกตัวอย่างหนังสือที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงแต่งขึ้นหรือหนังสือที่ทำขึ้นในงานพระราชพิธีต่างๆ ซึ่งเป็นหนังสือหายากและเสียหายง่ายหากเปิดให้คนทั่วไปเข้าใช้ จึงจำเป็นต้องจัดทำเป็นรูปแบบของหนังสือดิจิตอล โดยวิธีการทำนั้นจะใช้กล้องดิจิตอลความละเอียดสูงถ่ายทีละหน้าเสร็จแล้วรูปที่ได้บางครั้งต้องนำมาตกแต่ง เพื่อความง่ายในการอ่านนอกจากหนังสือดิจิตอลแล้ว สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังมีคอนเทนต์ที่ให้บริการกับนิสิต, เจ้าหน้าที่และสมาชิกอีกรูปแบบคือระบบมัลติมีเดีย โดยที่ห้องสมุดมัลติมีเดียนั้นจะมีทั้งแบบที่เป็นระบบวิดีโอและคอมพิวเตอร์อินเทอร์แอคทีฟ รวมถึงบทเรียนออนไลน์ที่มีให้บริการบนเว็บไซต์ของ หอสมุดกลางด้วยในเรื่องของการผลิตสื่อแบบดิจิตอลนั้นนอกจากตัวหนังสือดิจิตอลแล้ว สถาบันวิทยบริการนั้นมีอีกหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่ผลิตสื่อแบบมัลติมีเดียสำหรับป้อนเข้าสู่ระบบห้องสมุดดิจิตอล ที่ผลิตได้ทั้งวิดีโอและสื่อบนคอมพิวเตอร์ และที่เจ๋งสุดๆ ก็ต้องรถถ่ายทำนอกสถานที่ที่มีอุปกรณ์น้องๆ รถของสถานีโทรทัศน์ ที่มีไว้ใช้สำหรับการถ่ายทอดสัญญาณแบบเคลื่อนที่เพราะว่าในรอบอาณาเขตของรั้วจุฬาฯ นั้นจะมีระบบโทรทัศน์และยังถ่ายทอดไปบนอินเทอร์เน็ตด้วย เรียกว่าเรื่องของเทคโนโลยีการผลิตคอนเทนต์สำหรับห้องสมุดดิจิตอลของเมืองไทยไม่น้อยหน้าใครทีเดียวรวมตัวเมื่อไหร่ ห้องสมุดดิจิตอลเกิดแน่ถ้าจะถามว่าภาพของห้องสมุดดิจิตอลแบบที่เกิดขึ้นในจุฬาฯ จะมีใช้ไปทั่วประเทศหรือเปล่าตอบได้เลยว่าเป็นไปได้แน่นอนแต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าทุกคนต้องเห็นว่าเป็นของดี ไม่ใช่ว่าตอนนี้ไม่มีคนมองว่าการพัฒนาไปสู่ระบบห้องสมุดดิจิตอลนั้นเป็นเรื่องไม่จำเป็น แต่มีประเด็นอยู่สองเรื่องว่าเรื่องแรกตอนนี้ต่างคนต่างทำกันในแบบที่ตัวเองอยากจะทำ ซึ่งเรื่องนี้ดีกว่าแบบที่สองเพราะอย่างหลังนั้นไม่รู้เลยว่าการพัฒนาไปสู่ห้องสมุดดิจิตอลมีประโยชน์อย่างไรถ้าพูดตามตรงเลยก็คือถึงวันนี้หน่วยงานอย่างหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งน่าจะเป็นหน่วยงานที่เห็นว่าห้องสมุดดิจิตอลของประเทศไทยควรจะไปอย่างไร และเริ่มอย่างไรที่จะเชื่อมเอาห้องสมุดทั้งประเทศทั้งใหญ่, เล็กเข้าด้วยกันเหมือนอย่างที่สิงคโปร์ทำเรียบร้อยไปแล้ว แต่อย่างที่บอกไปแล้วก็คือยังไม่มีแม้แต่การขยับเขยื้อน ทำให้ดูเหมือนจะเป็นการชี้เรื่องบางอย่างที่มักจะพูดกันว่าทำไมคนไทยอ่านหนังสือกันน้อย ก็เพราะอย่างนี้นี่เล่าถึงไม่ค่อยแปลกใจเท่าไหร่ก็หน่วยงานที่น่าจะมีบทบาทส่งเสริมการอ่านถึงแม้จะน้อยนิดก็น่าจะทำสักนิดก็ยังดีก็ได้แต่รอว่าเมื่อไหร่การเชื่อมเครือข่ายห้องสมุดของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศจะสมบูรณ์เมื่อไหร่ ขั้นต่อไปก็คือการเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายฐานข้อมูลห้องสมุดในต่างประเทศเพื่อที่ต่อไปคนไทยจะได้เปิดหูเปิดตาดูนอกบ้านบ้างว่าเขาคิดอะไรได้บ้างแล้ว เราจะได้ไม่ไปคิดซ้ำกับคนอื่นเขาแล้วก็จะได้รู้ว่าเขาแอบก๊อบปี้อะไรเราไปบ้างคำถามสุดท้ายที่อยากถามคุณๆ ก็คือว่า “วันนี้คุณหยิบหนังสือมาอ่านแล้วหรือยัง?” อ้าวทำไมเรื่องนี้มาจบอย่างนี้หว่า

ไม่มีความคิดเห็น: